top of page

ข้อบังคับของ
สมาคมพยาธิวิทยาคลินิกไทย

หมวดที่ 1
ความทั่วไป

ข้อที่ 1

          สมาคมนี้มีชื่อว่า สมาคมพยาธิวิทยาคลินิกไทยย่อว่า สพคท. เรียกเป็นภาษาอังกฤษ Thai Society of Clinical Pathology ย่อว่า TSCP

          เครื่องหมายของสมาคมมีลักษณะเป็นรูปเลขหนึ่งไทย ซึ่งแสดงถึงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวของพยาธิวิทยาคลินิกไทย แถบ 5 แถบ เป็นสี แดง ขาว น้ำเงิน ขาว แดง ตามด้วยคำเต็มภาษาอังกฤษ ขนาดเล็ก มีชื่อย่อภาษาไทยของสมาคม สพคท. ตัวโต เข้ม เด่น อยู่ภายใน

ข้อที่ 2

ข้อที่ 3

          สำนักงานของสมาคมตั้งอยู่ ณ ตึกอดุลยเดชวิกรม ชั้น 10 คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เลขที่ 2  ถนนวังหลัง แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร 10700

วัตถุประสงค์ของสมาคม เพื่อ

4.1    สนับสนุน ส่งเสริมการศึกษา วิจัย อบรม และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับ

         วิชาการด้านพยาธิวิทยาคลินิก โดยเป็นศูนย์กลางประสานงาน ระหว่าง สมาชิก และ

         องค์กรต่าง ๆ ทั้งภายในประเทศไทย และต่างประเทศ

4.2   ส่งเสริมและสนับสนุนงานด้านพยาธิวิทยาคลินิกให้สอดคล้องกับมาตรฐานระดับ

         ประเทศและระดับนานาชาติ

4.3    พัฒนาระบบบริการด้านพยาธิวิทยาคลินิก ให้มีคุณภาพเป็นที่เชื่อถือ และตอบสนอง

         ต่อปัญหาด้านสุขภาพ

4.4    สนับสนุนและร่วมมือในการสร้างระบบประกันและรับรองคุณภาพบริการด้านพยาธิ

         วิทยาคลินิก

4.5    ส่งเสริมความเป็นเอกภาพของสมาชิก และผู้ปฏิบัติงานด้านพยาธิวิทยาคลินิก

4.6    สร้างสรรค์ ส่งเสริมสามัคคีธรรม จริยธรรม และศิลปวัฒนธรรม ของประเทศไทย

          โดยไม่เกี่ยวข้องกับกิจกรรม    ใด ๆ ที่เป็นเรื่องทางการเมืองทั้งทางตรงและทางอ้อม

ข้อที่ 4

หมวดที่ 2
สมาชิก

ข้อที่ 5

สมาชิกของสมาคมมี 3 ประเภท คือ                

5.1   สมาชิกสามัญ ได้แก่ แพทย์ที่ได้รับวุฒิบัตรหรือหนังสืออนุมัติบัตรแสดงความรู้ความ

        ชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมสาขาพยาธิวิทยาคลินิก หรือ เวชศาสตร์

        บริการโลหิต หรือแพทย์ที่จบการศึกษาระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่าที่ปฏิบัติงาน

        ในห้องปฏิบัติการทางการแพทย์

5.2   สมาชิกวิสามัญ ได้แก่ แพทย์ที่อยู่นอกเหนือจากที่ระบุในข้อ 5.1 หรือบุคคลที่ได้รับ

        ปริญญาทางวิทยาศาสตร์ หรือบุคคลอื่นที่ปฏิบัติงานหรือสนใจทางพยาธิวิทยา

        คลินิกที่คณะกรรมการเห็นสมควร

5.3   สมาชิกกิตติมศักดิ์ ได้แก่ บุคคลผู้ทรงเกียรติหรือทรงคุณวุฒิ หรือผู้มีอุปการคุณแก่

        สมาคม ซึ่งคณะกรรมการลงมติให้เชิญเข้าเป็นสมาชิกของสมาคม

สมาชิกจะต้องประกอบด้วยคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้

6.1    เป็นผู้บรรลุนิติภาวะ

6.2   เป็นผู้มีความประพฤติเรียบร้อย

6.3   ไม่เป็นโรคที่สังคมรังเกียจ

6.4   ไม่ต้องคำพิพากษาของศาลถึงที่สุดให้เป็นบุคคลล้มละลายหรือไร้ความสามารถหรือ

         เสมือนไร้ความสามารถ หรือต้องโทษจำคุก ยกเว้นความผิดฐานประมาท หรือลหุโทษ

         การต้องคำพิพากษาของศาลถึงที่สุดในกรณีดังกล่าวจะต้องเป็นในขณะที่สมัครเข้า

         เป็นสมาชิก หรือในระหว่างที่เป็นสมาชิกของสมาคมเท่านั้น

ข้อที่ 6

ข้อที่ 7

ค่าลงทะเบียน และค่าบำรุงสมาคม

7.1  สมาชิกสามัญ  ค่าบำรุงตลอดชีพ   1,000.-   บาท

7.2 สมาชิกวิสามัญ ค่าบำรุงตลอดชีพ   1,000.-   บาท

7.3  สมาชิกกิตติมศักดิ์ มิต้องเสียค่าลงทะเบียนและค่าบำรุงสมาคมสมาชิกแต่อย่างใดทั้งสิ้น

          การสมัครเข้าเป็นสมาชิกของสมาคม ให้ผู้ประสงค์จะสมัครเข้าเป็นสมาชิกของสมาคมยื่นใบสมัครตามแบบของสมาคม และให้ชำระค่าบำรุงทั้งหมด กรณีกรรมการมีมติไม่รับ ให้คืนค่าสมัครสมาชิก

ข้อที่ 8

ข้อที่ 9

          การเข้าเป็นสมาชิก ให้เลขาธิการหรือกรรมการผู้ทำหน้าที่แทนเลขาธิการ นำใบสมัคร เสนอต่อคณะกรรมการ เมื่อคณะกรรมการมีมติให้รับหรือไม่รับผู้ใดเข้าเป็นสมาชิก ให้เลขาธิการ มีหนังสือแจ้งให้ผู้นั้นทราบ ภายในเจ็ดวัน นับแต่วันลงมติ

          สมาชิกภาพของสมาชิกกิตติมศักดิ์ให้เริ่มนับตั้งแต่วันที่หนังสือตอบรับคำเชิญของผู้ที่คณะกรรมการได้พิจารณาลงมติให้เชิญเข้าเป็นสมาชิกของสมาคม ได้มาถึงสมาคม

ข้อที่ 10

ข้อที่ 11

สมาชิกภาพของสมาชิกให้สิ้นสุดลงด้วยเหตุต่อไปนี้

11.1   ตาย

11.2  ลาออก โดยยื่นหนังสือเป็นลายลักษณ์อักษรต่อคณะกรรมการ และคณะกรรมการได้

        พิจารณาอนุมัติและสมาชิกผู้นั้นได้ชำระหนี้สินที่ยังติดค้างอยู่กับสมาคมเป็นที่เรียบร้อย

11.3   ขาดคุณสมบัติสมาชิก

11.4  คณะกรรมการลงมติให้ลบชื่อออกจากทะเบียนสมาชิก  โดยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสาม

        ในสี่ของจำนวนกรรมการทั้งหมด ด้วยเหตุหนึ่งเหตุใดดังต่อไปนี้ 

        11.4.1. กระทำการใด ๆ ที่ทำให้สมาคมเสื่อมเสียชื่อเสียงโดยเจตนา

        11.4.2. กระทำการละเมิดข้อบังคับโดยเจตนา

สิทธิและหน้าที่ของสมาชิก

12.1   มีสิทธิเข้าใช้สถานที่ของสมาคมโดยเท่าเทียมกัน

12.2  มีสิทธิเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินการของสมาคมต่อคณะกรรมการ

12.3  มีสิทธิได้รับสวัสดิการต่าง ๆ ที่สมาคมได้จัดให้มีขึ้น ได้แก่

           -  ได้รับส่วนลดในการลงทะเบียนเข้าร่วมประชุมวิชาการประจำปีที่ สพคท.จัดขึ้น

           -   ได้รับส่วนลดในการสั่งซื้อหนังสือที่ สพคท. จัดพิมพ์

           -   ได้รับข่าวสารหรือบทความวิชาการจาก สพคท.

           -   สามารถร่วมแสดงความคิดเห็นใน social media ของ สพคท. ได้

12.4  มีสิทธิเข้าร่วมประชุมใหญ่ของสมาคม

12.5  สมาชิกสามัญมีสิทธิในการเลือกตั้งหรือได้รับการเลือกตั้งหรือแต่งตั้งเป็นคณะ

         กรรมการ สมาคมและมีสิทธิออกเสียงลงมติต่างๆ ในที่ประชุมได้คนละ 1 คะแนนเสียง

12.6  มีสิทธิร้องขอต่อคณะกรรมการเพื่อตรวจสอบเอกสารและบัญชีทรัพย์สินของสมาคม

12.7  มีสิทธิเข้าชื่อร่วมกันอย่างน้อย 1 ใน 5 ของสมาชิกทั้งหมด ทำหนังสือร้องขอต่อคณะ

         กรรมการให้จัดประชุมใหญ่วิสามัญได้     

12.8  มีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตามระเบียบปฏิบัติ และข้อบังคับของสมาคมโดยเคร่งครัด

12.9  มีหน้าที่ประพฤติตนให้สมกับเกียรติที่เป็นสมาชิกของสมาคม

12.10 มีหน้าที่ให้ความร่วมมือและสนับสนุนการดำเนินกิจการต่าง ๆ ของสมาคม

12.11   มีหน้าที่ร่วมกิจกรรมที่สมาคมได้จัดให้มีขึ้น

12.12  มีหน้าที่ช่วยเผยแพร่ชื่อเสียงของสมาคมให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย

ข้อที่ 12

หมวดที่ 3
การดำเนินกิจการสมาคม

ข้อที่ 13

          ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง ทำหน้าที่บริหารกิจการของสมาคม มีจำนวนอย่างน้อย 9 คน อย่างมากไม่เกิน 15 คนโดยสมาชิกสามัญของสมาคมเป็นผู้เสนอชื่อสมาชิกสามัญผู้สมควรเป็นกรรมการ จำนวน 9 คน เลขาธิการสมาคมจะเป็นผู้รวบรวมคะแนนผู้ที่ได้รับคะแนนจากการเลือกตั้งโดยเรียงลำดับตามความถี่ และให้ผู้ที่ได้รับเลือกตั้งเป็นกรรมการพิจารณาเลือกนายกสมาคม 1 คนและอุปนายก 1 คน จากกรรมการที่ได้รับการเลือกตั้ง คณะกรรมการสามารถแต่งตั้งกรรมการเพิ่มเติมจากสมาชิกของสมาคมรวมทั้งสิ้นกรรมการทั้งหมดมีไม่เกิน 15 คน จากนั้นให้คณะกรรมการทั้งหมดพิจารณาแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ ของสมาคม ตามที่ได้กำหนดไว้ ซึ่งตำแหน่งของกรรมการสมาคมมีตำแหน่งและหน้าที่โดยสังเขปดังต่อไปนี้

          13.1  นายกสมาคม :  ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าในการบริหารกิจการของสมาคมคณะ

                                            กรรมการของสมาคมเป็นผู้แทนสมาคมในการติดต่อกับบุคคล

                                            ภายนอกและทำหน้าที่เป็นประธานในที่ประชุมคณะกรรมการ และ

                                            การประชุมใหญ่ของสมาคม

          13.2 อุปนายก :         ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยนายกสมาคมในการบริหารกิจการสมาคม

                                            ปฏิบัติตามทำหน้าที่ที่นายกสมาคมได้มอบหมายและทำหน้าที่แทน                                                นายกสมาคมเมื่อนายกสมาคมไม่อยู่ หรือไม่สามารถจะปฏิบัติหน้าที่

                                            ได้

          13.3 เลขาธิการ :       ทำหน้าที่เกี่ยวกับงานธุรการของสมาคมทั้งหมดเป็นหัวหน้าเจ้า

                                            หน้าที่ของสมาคมในการปฏิบัติกิจการของสมาคมและปฏิบัติตาม

                                            คำสั่งของนายกสมาคมตลอดจนทำหน้าที่เป็นเลขานุการในการ

                                            ประชุมต่าง ๆ ของสมาคม

          13.4 เหรัญญิก :       มีหน้าที่เกี่ยวกับการเงินทั้งหมดของสมาคม เป็นผู้จัดทำบัญชี

                                            รายรับรายจ่าย บัญชีงบดุลของสมาคมและเก็บเอกสารหลักฐาน

                                            ต่าง ๆ ของสมาคมไว้เพื่อตรวจสอบ

          13.5 ปฏิคม :              มีหน้าที่ในการให้การต้อนรับแขกของสมาคม เป็นหัวหน้าในการ

                                            จัดเตรียมสถานที่ของสมาคมและจัดเตรียมสถานที่ประชุมต่าง ๆ

                                            ของสมาคม

          13.6 นายทะเบียน :    มีหน้าที่เกี่ยวกับทะเบียนสมาชิกทั้งหมดของสมาคม ประสานงาน

                                            กับเหรัญญิก ในการเรียกเก็บเงินค่าบำรุงสมาคมจากสมาชิก

          13.7 ประชาสัมพันธ์ : มีหน้าที่เผยแพร่กิจการและชื่อเสียงเกียรติคุณของสมาคมให้

                                            สมาชิกและบุคคลโดยทั่วไปให้เป็นที่รู้จักแพร่หลาย

          13.8 วิชาการ :           มีหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริมวิชาการต่าง ๆ

          13.9 กรรมการตำแหน่งอื่น ๆ :  ตามความเหมาะสม ซึ่งคณะกรรมการเห็นสมควรกำหนด

                                             ให้มีขึ้นโดยมีจำนวนเมื่อรวมกับตำแหน่งกรรมการตามข้างต้นแล้ว

                                             จะ ต้องไม่เกิน 15 คน แต่ถ้าคณะกรรมการมิได้กำหนดตำแหน่งก็

                                             ถือว่าเป็นกรรมการกลาง มีหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริมวิชาการ

                                             ต่าง ๆ คณะกรรมการชุดแรก ให้ผู้เริ่มการจัดตั้งสมาคมเป็นผู้เลือก

                                             ตั้ง ประกอบด้วยนายกสมาคมและกรรมการอื่น ๆ ตามจำนวนที่เห็น

                                             สมควรตามข้อบังคับของสมาคม

          คณะกรรมการของสมาคมสามารถอยู่ในตำแหน่งได้คราวละ 2 ปี และเมื่อคณะกรรมการอยู่ในตำแหน่งครบกำหนดวาระแล้ว แต่คณะกรรมการชุดใหม่ยังไม่ได้รับอนุญาตให้จดทะเบียนจากทางราชการ ก็ให้คณะกรรมการที่ครบกำหนดตามวาระรักษาการไปพลางก่อน จนกว่าคณะกรรมการชุดใหม่จะได้รับอนุญาตให้จดทะเบียนจากทางราชการ และเมื่อคณะกรรมการชุดใหม่ได้รับอนุญาตให้จดทะเบียนจากทางราชการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็ให้ทำการส่งและรับมอบงานกันระหว่างคณะกรรมการชุดเก่าและคณะกรรมการชุดใหม่ให้เป็นที่เสร็จสิ้นภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่คณะกรรมการชุดใหม่ได้รับอนุญาตให้จดทะเบียนจากทางราชการ

ข้อที่ 14

ข้อที่ 15

          ตำแหน่งกรรมการสมาคม ถ้าต้องว่างลงก่อนครบกำหนดตามวาระก็ให้คณะกรรมการแต่งตั้งสมาชิกสามัญคนใดคนหนึ่งที่เห็นสมควรเข้าดำรงตำแหน่งแทนตำแหน่งที่ว่างลงนั้น แต่ผู้ดำรงตำแหน่งแทนอยู่ในตำแหน่งได้เท่ากับวาระของผู้ที่ตนแทนเท่านั้น

กรรมการอาจจะพ้นจากตำแหน่ง ซึ่งมิใช่เป็นการออกตามวาระด้วยเหตุผลต่อไปนี้ คือ

            16.1   ตาย

            16.2   ลาออก

            16.3   ขาดจากสมาชิกภาพ

            16.4   ที่ประชุมใหญ่ลงมติให้ออกจากตำแหน่ง

ข้อที่ 16

ข้อที่ 17

          กรรมการที่ประสงค์จะลาออกจากตำแหน่งกรรมการให้ยื่นในลาออกเป็นลายลักษณ์อักษรต่อคณะกรรมการและให้พ้นจากตำแหน่งเมื่อคณะกรรมการมีมติให้ออก

อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ

18.1   มีอำนาจออกระเบียบปฏิบัติต่าง ๆ เพื่อให้สมาชิกได้ปฏิบัติ โดยระเบียบปฏิบัตินั้น จะ

         ต้องไม่ขัดต่อข้อบังคับฉบับนี้

18.2  มีอำนาจแต่งตั้งและถอดถอนเจ้าหน้าที่ของสมาคม

18.3  มีอำนาจแต่งตั้งกรรมการที่ปรึกษา หรืออนุกรรมการได้ แต่กรรมการที่ปรึกษาหรือ

         อนุกรรมการจะสามารถอยู่ในตำแหน่งได้ไม่เกินวาระของคณะกรรมการที่แต่งตั้ง

18.4  มีอำนาจเรียกประชุมใหญ่สามัญประจำปี และประชุมใหญ่วิสามัญ

18.5  มีอำนาจแต่งตั้งกรรมการในตำแหน่งอื่น ๆ ที่ยังมิได้กำหนดไว้ในข้อบังคับนี้

18.6  มีอำนาจบริหารกิจการของสมาคม เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ตลอดจนมีอำนาจ

         อื่น ๆ ตามที่ข้อบังคับได้กำหนดไว้

18.7  มีหน้าที่รับผิดชอบในกิจการทั้งหมด รวมทั้งการเงินและทรัพย์สินทั้งหมดของสมาคม

18.8  มีหน้าที่จัดให้มีการประชุมใหญ่วิสามัญ ตามที่สมาชิกจำนวน 1 ใน 5 ของสมาชิกทั้งหมด

         ได้เข้าชื่อร้องขอให้จัดประชุมใหญ่วิสามัญขึ้น ซึ่งการนี้จะต้องจัดให้มีการประชุมใหญ่

         วิสามัญขึ้นภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือร้องขอ

18.9  มีหน้าที่จัดทำเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ทั้งที่เกี่ยวกับการเงิน ทรัพย์สินและการดำเนิน

         กิจกรรมต่าง ๆ ของสมาคมให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ และสามารถให้สมาชิกตรวจดู

         ได้เมื่อสมาชิกร้องขอ

18.10 จัดทำบันทึกการประชุมต่าง ๆ ของสมาคม เพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานและจัดส่งให้สมาชิก

          ได้รับทราบ

18.11   มีหน้าที่อื่น ๆ ตามที่ข้อบังคับบัญชาได้กำหนดไว้

ข้อที่ 18

ข้อที่ 19

          คณะกรรมการจะต้องประชุมกันอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง ทั้งนี้เพื่อปรึกษาหารือเกี่ยวกับการบริหารกิจการของสมาคม

          การประชุมคณะกรรมการ จะต้องมีกรรมการเข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของกรรมการทั้งหมด จึงถือว่าครบองค์ประชุม มติของที่ประชุมคณะกรรมการ ถ้าข้อบังคับมิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ก็ให้ถือคะแนนเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์ แต่ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันก็ให้ประธานในการประชุมเป็นผู้ชี้ขาด

ข้อที่ 20

ข้อที่ 21

          ในการประชุมคณะกรรมการ ถ้านายกสมาคมและอุปนายกไม่อยู่ในที่ประชุม หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ก็ให้กรรมการที่เข้าประชุมในคราวนั้นเลือกตั้งกันเอง เพื่อให้กรรมการคนใดคนหนึ่งทำหน้าที่เป็นประธานในการประชุมคราวนั้น

หมวดที่ 4
การประชุมใหญ่

การประชุมใหญ่ของสมาคมมี 2 ประเภท คือ

            22.1   ประชุมใหญ่สามัญ

            22.2  ประชุมใหญ่วิสามัญ

ข้อที่ 22

ข้อที่ 23

          คณะกรรมการจะต้องจัดให้มีการประชุมใหญ่สามัญประจำปี ๆ ละ 1 ครั้ง ภายในเดือน เมษายน ของทุก ๆ ปี

          การประชุมใหญ่วิสามัญ อาจจะมีขึ้นได้ก็โดยเหตุที่คณะกรรมการเห็นควรจัดให้มีขึ้น หรือเกิดขึ้นด้วยการเข้าชื่อร่วมกันของสมาชิกไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของสมาชิกสามัญทั้งหมด ทำหนังสือร้องขอต่อคณะกรรมการให้จัดให้มีขึ้น

ข้อที่ 24

ข้อที่ 25

          การแจ้งกำหนดนัดประชุมใหญ่ให้เลขาธิการเป็นผู้แจ้งกำหนดนัดประชุมใหญ่ให้สมาชิกได้ทราบและการแจ้งจะต้องแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษร โดยระบุวัน เวลา และสถานที่ให้ชัดเจน โดยจะต้องแจ้งให้สมาชิกได้ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วัน และประกาศแจ้งกำหนดนัดประชุมไว้ ณ สำนักงานของสมาคมเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 7 วัน ก่อนถึงกำหนดการประชุมใหญ่

การประชุมใหญ่สามัญประจำปี จะต้องมีวาระการประชุมอย่างน้อยดังต่อไปนี้

            26.1     แถลงกิจการที่ผ่านมาในรอบปี

            26.2    แถลงบัญชีรายรับ รายจ่าย และบัญชีงบดุลของปีที่ผ่านมาให้สมาชิกรับ

                        ทราบ

            26.3    เลือกตั้งคณะกรรมการชุดใหม่ เมื่อครบกำหนดวาระ

            26.4    เลือกตั้งผู้สอบบัญชี

            26.7    เรื่องอื่น ๆ ถ้ามี

ข้อที่ 26

ข้อที่ 27

          ในการประชุมใหญ่สามัญประจำปี หรือการประชุมใหญ่วิสามัญจะต้องมีสมาชิกสามัญหรือสมาชิกวิสามัญเข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่า 20 คน จึงถือว่าครบองค์ประชุม แต่ถ้าเมื่อถึงกำหนดเวลาประชุมยังมีสมาชิกสามัญและสมาชิกวิสามัญเข้าร่วมประชุมไม่ครบองค์ประชุม ให้คณะกรรมการของสมาคมเรียกประชุมใหญ่อีกครั้งหนึ่ง โดยจัดให้มีการประชุมขึ้นภายใน 14 วัน นับแต่วันที่นัดประชุมครั้งแรก สำหรับการประชุมในครั้งหลังนี้ ถ้ามีสมาชิกสามัญและสมาชิกวิสามัญเข้าร่วมประชุมเป็นจำนวนเท่าใด  ก็ถือว่าครบองค์ประชุม ยกเว้นถ้าเป็นการประชุมใหญ่วิสามัญที่เกิดขึ้นจากการร้องขอของสมาชิก ก็ไม่ต้องจัดประชุมใหญ่ ให้ถือว่าการประชุมเป็นอันยกเลิก

          การลงมติต่าง ๆ ในที่ประชุมใหญ่ ถ้าข้อบังคับมิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ก็ให้ถือคะแนนเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์ แต่ถ้าคะแนนเสียงที่ลงมติมีคะแนนเสียงเท่ากัน ก็ให้ประธานในการประชุมเป็นผู้ชี้ขาด

ข้อที่ 28

ข้อที่ 29

          ในการประชุมใหญ่ของสมาคม ถ้านายกสมาคม และอุปนายกสมาคมไม่มาร่วมประชุมหรือไม่สามารถจะปฏิบัติหน้าที่ได้ ก็ให้ที่ประชุมใหญ่ทำการเลือกตั้งกรรมการที่มาร่วมประชุมคนใดคนหนึ่ง ให้ทำหน้าที่เป็นประธานในการประชุมคราวนั้น

หมวดที่ 5
การเงินและทรัพย์สิน

          การเงินและทรัพย์สินทั้งหมดให้อยู่ในความรับผิดชอบของคณะกรรมการ เงินสดของสมาคมถ้ามีให้นำฝากไว้ธนาคาร ไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขาศิริราช

ข้อที่ 30

ข้อที่ 31

          การลงนามในตั๋วเงินหรือเช็คของสมาคม จะต้องมีลายมือชื่อของนายกสมาคม หรืออุปนายกสมาคมลงนามร่วมกับเหรัญญิก หรือเลขาธิการ พร้อมกับประทับตราของสมาคมจึงจะถือว่าใช้ได้

          ให้นายกสมาคมมีอำนาจสั่งจ่ายเงินของสมาคมได้ครั้งละไม่เกิน 5,000.- บาท (ห้าพันบาทถ้วน) ถ้าเกินกว่านั้นจะต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการและคณะกรรมการจะอนุมัติให้จ่ายเงินได้ครั้งละไม่เกิน 50,000.- บาท (ห้าหมื่นบาทถ้วน) ถ้าจำเป็นจะต้องจ่ายเกินกว่านี้ต้องได้รับอนุมัติจากที่ประชุมของสมาคม

ข้อที่ 32

ข้อที่ 33

          ให้เหรัญญิก มีอำนาจเก็บรักษาเงินสดของสมาคมได้ไม่เกิน 2,000.- บาท (สองพันบาทถ้วน) ถ้าเกินกว่าจำนวนนี้ จะต้องนำฝากธนาคารในบัญชีของสมาคมทันทีที่โอกาสอำนวยให้

          เหรัญญิก จะต้องทำบัญชีรายรับ รายจ่าย และบัญชีงบดุล ให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ การรับหรือจ่ายเงินทุกครั้ง จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ ลงลายมือชื่อของนายกสมาคมหรืออุปนายกสมาคมร่วมกับเหรัญญิกหรือเลขาธิการ พร้อมกับประทับตราของสมาคมทุกครั้ง

ข้อที่ 34

ข้อที่ 35

          ผู้สอบบัญชี จะต้องมิใช่กรรมการหรือเจ้าหน้าที่ของสมาคม และจะต้องเป็นผู้สอบบัญชีที่ได้รับอนุญาต

          ผู้สอบบัญชีมีอำนาจหน้าที่จะเรียกเอกสารที่เกี่ยวกับการเงินและทรัพย์สินจากคณะกรรมการและสามารถจะเชิญกรรมการหรือเจ้าหน้าที่ของสมาคมเพื่อสอบถามเกี่ยวกับบัญชีและทรัพย์สินของสมาคมได้

ข้อที่ 36

ข้อที่ 37

          คณะกรรมการจะต้องให้ความร่วมมือกับผู้สอบบัญชี เมื่อได้รับการร้องขอ

หมวดที่ 6
การเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อบังคับและการเลิกสมาคม

          การแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อบังคับ จะทำได้ต่อเมื่อได้รับอนุมัติจากที่ประชุมใหญ่สามัญ โดยมติ 2 ใน 3 ของสมาชิกสามัญที่เข้าร่วมประชุม และจะใช้บังคับได้ต่อเมื่อได้จดทะเบียนแล้ว

ข้อที่ 38

ข้อที่ 39

          การเลิกสมาคมจะเลิกได้ก็โดยมติของที่ประชุมใหญ่ของสมาคม ยกเว้นเป็นการเลิกเพราะเหตุของกฎหมาย มติของที่ประชุมใหญ่ที่ให้เลิกสมาคมจะต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของสมาชิกสามัญที่เข้าร่วมประชุมทั้งหมด และองค์ประชุมใหญ่จะต้องไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของสมาชิกสามัญทั้งหมด

          เมื่อสมาคมต้องเลิก ไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ ก็ตาม ทรัพย์สินของสมาคมที่เหลืออยู่หลังจากที่ได้ชำระบัญชีเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ให้ตกเป็นของ ศิริราชมูลนิธิ, มูลนิธิรามาธิบดี, มูลนิธิแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ (ผู้รับต้องมีฐานะเป็นนิติบุคคล มีวัตถุประสงค์เพื่อการกุศลสาธารณประโยชน์

ข้อที่ 40

หมวดที่ 7
บทเฉพาะกาล

ข้อที่ 41

          ข้อบังคับฉบับนี้นั้น ให้เริ่มใช้บังคับได้นับตั้งแต่วันที่สมาคมได้รับอนุญาตให้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลเป็นต้นไป

          เมื่อสมาคมได้รับอนุญาตให้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลจากทางราชการ ก็ให้ถือว่าผู้เริ่มการทั้งหมดเป็นสมาชิกสามัญ

ข้อที่ 42

bottom of page